วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กันเกรา


ชื่อสามัญ                     Anan, Tembusu
ชื่อวิทยาศาสตร์             Fagraea fragrans Roxb.                     
วงศ์                           LOGANIACEAE
ชื่ออื่นๆ                 กันเกรา (ภาคกลาง), ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้),
มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไป
กันเกราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นสูงเต็มที่ราว ๒๐-๓๐ เมตร พบขึ้นอยู่ตามธรรมชาติทุกภาคของประเทศไทย
บริเวณที่ลุ่ม ริมน้ำ
 หรือป่าดิบ พบมากบริเวณภาคตะวันออกและภาคใต้ ลำต้น มีเปลือกหยาบ สีน้ำตาลปนดำ แตก ระแหงเป็นร่องไม่เป็นระเบียบ 
ปลายกิ่งห้อยลง
ใบออกเป็นคู่ๆ ตรงข้ามกัน ใบสีเขียวแก่ค่อนข้างหนา รูปทรงยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบเรียว เป็นครีบไปตามก้าน ใบยาวราว
 ๘-๑๒ เซนติเมตร
 กว้างยาว ๒.๕-๓.๕ เซนติเมตร ก้านใบยาว ๑-๒ เซนติเมตร

ดอกออกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง เมื่อดอกบานใหม่ๆ เป็นสีขาว แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดอกเป็นรูปแตรหลอดยาว
 ราว ๑ เซนติเมตร
 ปลายหลอดเป็นกลีบ ๕ กลีบ ปลายกลีบแบนมน ม้วนไปด้านหลัง มีเกสรตัวผู้ ๕ อัน ก้านเกสรตัวผู้ยาวพ้นปากดอกประมาณ
 ๑ เซนติเมตร ในแต่ละ
ช่อดอกมีดอกย่อยอยู่รวมกันราว ๑๕-๒๕ ดอก ทยอยบานติดต่อกันหลายวัน ทำให้มีกลิ่นหอมอยู่ได้ราว ๗ วัน ดอกกันเกรา
เป็นดอกไม้ที่มีกลิ่นหอม
แรง และส่งกลิ่นไปได้ไกลที่สุดชนิดหนึ่ง แต่กลิ่นหอมเย็นชื่นใจ ไม่ฉุนจัดเหมือนดอกราตรีที่หอมแรง และส่งกลิ่นไปได้ไกล
เช่นเดียวกัน ผลกันเกรา
มีขนาดเล็กประมาณ ๐.๖ เซนติเมตร เมื่อแก่มีสีแดง

กันเกรามีเนื้อไม้สีเหลืองอ่อน ละเอียด แข็ง ทนทาน ป้องกันปลวกได้ดี คนไทยรู้จักกันเกราเป็นอย่างดีทุกภาค เพราะเป็
นต้นไม้พื้นบ้านดั้งเดิมที่มีถิ่น
กำเนิดในประเทศไทยนี้เอง ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ.๒๔๑๖ กล่าวถึงกันเกราว่า  "กันเตรา : ต้นไม้อย่างหนึ่ง 
แก่นทำเสาทนนัก ใช้ทำยา
แก้โรคบ้าง มีอยู่ในป่า" น่าสังเกตว่าในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ เรียกกันเกราว่า กันเตรา แต่สุนทรภู่เรียกชื่อในนิราศ
พระบาทว่ากันเกรา เช่นเดียว
กับในลิลิตตะเลงพ่าย พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ภาคเหนือและอีสานเรียก มันปลา
 ภาคใต้เรียก ตำเสา
 หรือทำเสา ส่วนภาษาอังกฤษเรียก Tembusaี
การขยายพันธ์
โดยการเพาะเมล็ด
ถิ่นกำเนิด
ป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้แหล่งน้ำใน ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม และประเทศไทย
ประโยชน์
เนื่องจากกันเกราเป็นต้นไม้พื้นบ้านดั้งเดิมของไทย คนไทยจึงรู้จักคุ้นเคยและใช้ประโยชน์จากกันเกราหลายด้านด้วยกัน
ด้านใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค
 ตำราประมวลสรรพคุณยาไทยว่า ด้วยพฤกษชาติฯ ของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ สำนักวัดพระเชตุพนฯ บรรยายสรรพคุณ
เอาไว้ว่า "แก่น : รสเฝื่อน
ฝาด ขม เข้ายาบำรุงธาตุ แก้ไข้จับสั่น แก้หืด ไอ มองคร่อ (โรคชนิดหนึ่ง เสมหะแห้งอยู่ในลำหลอดปอด) ริดสีดวง ท้องมาน
 แน่น หน้าอก ลงท้องเป็น
มูกเลือด แก้พิษ ฝีกาฬ บำรุงม้าม แก้เลือดลมพิการ เป็นยาอายุวัฒนะ เปลือกบำรุงโลหิต ผิวหนังพุพอง ปวดแสบปวดร้อน"
ในตำราบางเล่มมีสรรพคุณ
เพิ่มเติมคือ "บำรุงร่างกาย แก้ปวด ตามข้อ แก้ไข้"

นอกจากแก่นแล้ว เปลือกของกันเกราก็ใช้ทำยาได้ แต่สรรพคุณน้อยกว่าแก่น หลายตำราจึงไม่ได้เอ่ยถึงสรรพคุณของเปลือกเลย
 เนื้อไม้กันเกรานับเป็น
เนื้อไม้ชนิดดียิ่งอย่างหนึ่ง เพราะมีสีเหลืองอ่อน เนื้อละเอียด เหนียว แข็ง ทน ทานมาก ทนปลวกได้ดี ตกแต่งง่าย ขัดเงาได้งดงาม
 เหมาะสำหรับทำ
พื้นบ้าน ทำเสาเรือน (มีบรรยายไว้ใน หนังสืออักขราภิธานศรับท์ว่า "แก่น ทำเสาทนนัก" และชื่อในภาคใต้คือต้นทำเสา)
ทำเครื่องเรือน ทำโลงศพของชาวจีน (หีบจำปา) เหมาะแก่การแกะสลัก เป็นต้น มีชื่อทางการค้าในภาษาอังกฤษว่า Anan
 แต่มีจำหน่ายในตลาดน้อย เพราะค่อนข้างโตช้าและไม่ขึ้นเป็นป่าพื้นที่กว้างใหญ่เหมือนไม้เศรษฐกิจชนิดอื่น
ในประเทศไทยถือว่ากันเกราเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง แม้ไม่ระบุให้ใช้ปลูกรอบบ้านเรือนที่อยู่อาศัย แต่ใช้เป็นไม้เสาเข็มในพิธีวาง
ศิลาฤกษ์อาคาร ซึ่งเสา
เข็มนี้มีไม้ ๙ ชนิด ไม้กันเกราเป็นไม้มงคลอันดับที่ ๓ เชื่อว่ากันเกราช่วยปกป้องคุ้มครองและป้องกันภยันตรายต่างๆ ได้ กันเกรา
เป็นต้นไม้ที่ไม่ผลัดใบ
รูปทรงพุ่มงดงาม กล่าวคือ เมื่อยังไม่โตเต็มที่ทรงพุ่มเป็นรูปกรวยปลายมน เมื่อโตเต็มที่แล้วทรงพุ่มค่อนข้างกลม ใบเขียวเข้มเป็นมัน
 ปลูกง่ายแข็งแรง
ทนทาน เหมาะปลูกในบริเวณบ้านหรือที่สาธารณะ ประกอบกับดอกที่มีกลิ่นหอมแรง ส่งกลิ่นไปไกล ทั้งยังหอมสดชื่นไม่ฉุน จึงน่า
ปลูกอย่างยิ่ง แม้
กันเกราจะค่อนข้างโต้ช้า แต่หากผู้ปลูกเอาใจใส่บ้างพอสมควรก็จะได้ชื่นชม รูปทรง ร่มเงา และกลิ่นหอม ภายในเวลาไม่เกิน ๑๐ ปี
 แล้วหลังจากนั้น
ก็จะได้รับคุณค่าดังกล่าวจากกันเกราไปอีกนานแสนนาน

วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ดอกชบา


ชื่อสามัญ                                Chinese rose 
ชื่อวิทยาศาสตร์                        Hibiscus rosa sinensis. 

ตระกูล                                    MALVACEAE 
ถิ่นกำเนิด                                จีน อินเดียและฮาวาย
ลักษณะทั่วไป
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย
การดูแล
แสง                          ชอบแสงแดดมาก

น้ำ                             ต้องการน้ำพอประมาณ

ดิน                           เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป

ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การขยายพันธ์              ตอน ปักชำ

โรคและแมลง               ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่

การป้องกันกำจัด         ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก

                                                      

กล้วยไม้




1.เนื่องจากเมื่อวานไปถ่ายรูปกล้วยไม้ที่สวนสามพรานมาค่ะ

แต่ฝีมือการถ่ายรูปของพรไม่ติดฝุ่นฝีมือพี่โจ้ worryaboutyou ซักนิด(ไปถ่ายมากันคนละวันค่ะ)

เลยขออนุญาตนำภาพที่พี่โจ้ถ่ายมาลงให้เพื่อนๆดูดีกว่าค่ะ

เพราะสวยมากๆ แต่พอลดขนาดแล้ว ความสวยอาจลดลงไปนิดหนึ่ง ดูภาพเต็มๆตาได้จาก

http://web.me.com/kittivong/orchid1/





2.



3.



4.



5.

ดอกมะลิ


ชื่อสามัญ                                Sambac 

ชื่อวิทยาศาสตร์                        Jasminum sambac. , Jusminum adenophyllum.

ตระกูล                                    OLEACEAE
ลักษณะทั่วไป
ุ์มะลิเป็นพรรณไม้ยืนต้น และเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลางบางชนิดก็มีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดียวแตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือตามง่ามใบดอกเล็กสีขาวมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่ประมาณ 2-3 เซนติเมตรผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่1เมล็ดนอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธ์
  พันธ์ดอกมะลิ
 มะลิลา เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
 มะลิลาซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี
 มะลิถอด ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
 มะลิซ้อน เป็นไม้พุ่มเลื้อย สูง 1-2 เมตร แตกกิ่งตำใต้ผิวดินจำนวนมาก เป็นพุ่มแน่น ปลายกิ่งตั้งขึ้น กิ่งเปราะ ใบเป็นใบเดี่ยว มักมี 3 ใบต่อหนึ่งข้อ เรียงตรงข้ามร ใบรูปไข่กลับ ปลายใบแหลม สีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ 1-3 ดอก สีขาว ออกที่ปลายกิ่ง โคนกลีบดอกติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบจำนวนมาก ขอบกลีบเป็นคลื่น เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 3- 4 เซนติเมตร ดอกบานอยู่ได้หลายวัน มีกลิ่นหอมตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ออกดอกตลอดปี

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

น้ำตกทีลอซู


น้ำตกทีลอซู

ข้อมูลโดยรวมของน้ำตกเอราวัณ

น้ำตกเอราวัณ เป็นน้ำตกที่ใหญ่และสวยงาม บนฝั่งแม่น้ำแควใหญ่ ตั้งอยู่ที่ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นน้ำตก
ที่มีระยะทางยาวประมาณ 1,500 เมตร ติดต่อกัน ซึ่งแบ่งออกเป็นชั้นๆ ได้ 7 ชั้นเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เดิม มีชื่อว่า น้ำตกสะ
ด่องม่องลาย ตามชื่อลำห้วยม่องล่ายซึ่งเป็นต้นน้ำของน้ำตกที่เกิดจากยอดเขา ตาม่องล่ายใน เทือกเขาสลอบ สายน้ำจะ
ไหลมาตามชั้นหินเป็นระยะทางประมาณ 1,500 เมตร แบ่งออกเป็นชั้นใหญ่ๆได้ 7 ชั้น แต่ละชั้นมีีความสวยงามร่มรื่นไปด้วย
แมกไม้นานาพันธุ์ ทั้งเถาวัลย์พันเกี่ยวทอดตัวไปบนต้นไม้ใหญ่ กล้วยไม้ป่า หลายชนิดบนคาคาคบไม้ สายธารน้ำที่ไหลตก
ลดหลั่นลงมาบนโขดหินสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง เสียงสาดซ่า คลอเคล้า ด้วยเสียงเพรียกของนกป่า ทำให้สภาพความเป็นธรรมชาติสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น นับเป็นบรรยากาศที่เรียกเอาความมี คุณค่าของป่าเขาลำเนา ไพรซึมซับเข้าสู่อารมณ์ของผู้ใฝ่ความสันโดษ
และรักธรรมชาติโดยแท้จริง ในชั้นที่ 7 อันเป็นชั้นบนสุดของน้ำตกลักษณะของน้ำตกชั้นที่ 7 ลักษณะสายน้ำไหลบ่า
มองดูคล้ายกับหัวช้างเอราวัณซึ่งมี 3 หัว จึงกลายมาเป็นที่มาของชื่อน้ำตก จนคนทั่วไปรู้จักและขนานนามว่า “น้ำตกเอราวัณ”
น้ำตกเอราวัณน้ำตกเอราวัณ
สิ่งที่รู้สึกได้เมื่อมาถึงยังบริเวณน้ำตก คือความเย็นสบายแต่เมื่อได้เห็นตัวน้ำตกก็ต้องตะลึงในความงามของตัว น้ำตกที่น้ำ
ใสแจ๋ว มองเห็นตัวปลาแหวกว่ายไปมาใต้ผืนน้ำที่สะท้อนแสงเป็นสีฟ้าอมเขียวมรกตคล้ายน้ำใน สระว่ายน้ำ ที่เป็นเช่นนั้น
ก็เนื่องมาจากลักษณะของภูเขาใน อุทยานฯเอราวัณ เป็นเป็นเทือกเขาหินปูนที่เกิดจาก การทับถมของ เปลือกหอย ปู
หรือปะการังดังนั้นน้ำตกเอราวัณที่ไหลมาจากเทือกเขาหินปูนจึงมีสารละลายของ แคลเซียมคาร์บอเนต เจือปนอยู่
ซึ่งแคลเซียมคาร์บอเนตนี้จะตกตะกอนในบริเวณที่มีน้ำไหลช้าหรือเป็นแอ่งน้ำ ทำให้ชั้นน้ำตกมีคราบหินปูนก่อตัว
และหินปูนนี้สามารถละลายน้ำได้ดี เมื่ออยู่ในรูปของสารละลายก็สามารถ ตก ตะกอนได้ น้ำตกหินปูนจึงมีน้ำใสในตอนบน
 และมีการตกตะกอนขุ่นในช่วงล่างของธารน้ำ เมื่อแสงส่องลงมาจะ ทำให้สะท้อนเป็นสีฟ้าหรือสีเขียวมรกตสวยงามมาก
แอ่งน้ำใสๆ
น้ำตกเอราวัณน้ำตกเอราวัณ
น้ำตกชั้นแรกมีชื่อว่า"ไหลคืนรัง"ชั้นต่อมาชื่อ"วังมัจฉา" ชั้นที่ 3 "ผาน้ำตก" ชั้นที่4"อกผีเสื้อ" ชั้นที่ 5 "เบื่อไม่ลง" ชั้นที่ 6"ดงพฤกษา" และชั้นสุดท้ายชื่อว่า "ภูผาเอราวัณ"โดยน้ำตกแต่ละชั้นไม่ใช่มีแค่ชื่อที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น แต่น้ำตกแต่ละชั้น
ก็มีความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป สำหรับท่านที่ต้องการเยี่ยมชมน้ำตกทั้ง 7 ชั้นจาก การสอบถามจากเจ้าหน้าที่จะ
ต้องใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงในการขึ้น - ลง

น้ำตกเอราวัณ

น้ำตกเอราวัณ

เย็นสบายกับสายน้ำที่ น้ำตกเอราวัณ

น้ำตกเอราวัณ
น้ำตกเอราวัณ

น้ำตกเอราวัณ
น้ำตกเอราวัณ

น้ำตกเอราวัณ
น้ำตกเอราวัณ
น้ำตกเอราวัณ
น้ำตกเอราวัณ

สรุปข้อมูล
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คู่หูเดินทาง

          จังหวัดกาญจนบุรี ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองที่ชุ่มชื้นไปด้วยฝอยฝนหรือระคนไปด้วยกลิ่นป่า และเป็นผืนป่าตะวันตกที่ว่ากันว่าสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกก็ว่าได้ แถมยังมีสถานที่ท่องเที่ยวออกแนวผจญภัยมากมายให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปสัมผมกับกิจกรรมมันส์ ๆ หลากหลาย อิ่มเอมกับธรรมชาติอันเขียวขจี แสนสบายไปกับสายน้ำที่เย็นฉ่ำ โดยเฉพาะ น้ำตกเอราวัณ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ อุทยานแห่งชาติเอราวัณ อำเภอศรีสวัสดิ์ ซึ่งเป็นน้ำตกที่มีระยะทางยาวติดต่อกัน มีความงามร่มรื่นไปด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ นั่นแน่! เริ่มอยากไปดื่มด่ำกับความงามของ น้ำตกเอราวัณ แล้วใช่มั้ยล่ะ ถ้างั้นก็ตามเราเขาไปชื่นชมได้เลย..
.